กรณีตัวอย่าง…การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

“มาช่า”ขอโทษ ภาพหลุด

เตรียมเอาผิดมือดีปล่อยภาพหลุด

มาช่า แถลงขอโทษมีภาพหลุดอื้อฉาวกับผู้ชาย เผย หลุดจากโทรศัพท์ที่ทำหาย ปัด พูดถึงผู้ชายในภาพ แต่แจ้งความเอาผิดคนปล่อยแล้ว หวังเป็นเรื่องซวยเรื่องสุดท้ายของชีวิต พร้อมวอนขอให้หยุดเผยแพร่ภาพ ด้าน หมวดเจี๊ยบ ผู้สมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย เกาะกระแสโผล่มอบดอกไม้ให้กำลังใจ  หลังจากที่เมื่อหลายวันก่อน หนังสือพิมพ์สยามดาราได้นำเสนอข่าวภาพหลุดสาวหน้าคล้าย นักร้องชื่อดัง “มาช่า วัฒนพานิช” กำลังบรรเลงเลิฟซีนกับผู้ชายที่ระบุว่าหน้าคล้าย “นายซีริล รูฮานี (Cyril Rouhani)” อดีตโปรดิวเซอร์ชาวฝรั่งเศสคู่กรณี ที่เคยร่วมกันทำงานเพลง I’m Back และตอนนี้กำลังมีเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ หลุดออกมาทำเอาช็อคกันทั้งวงการบันเทิงซึ่งหลังจากที่นักร้องดังมาช่าเอาแต่หลบหน้าสื่อ ไม่ยอมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุดในวันนี้(25 มิ.ย.) เวลา 17.00 น. เจ้าตัวก็ได้ออกมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง กลางกองละครเรื่อง “ลิขิต เสน่หา” ออกอากาศทางช่อง 3 ที่ รพ.เกษมราษฏร์ บางแค พร้อมกับยอมรับว่าเป็นสาวที่อยู่ในภาพอื้อฉาวนั้นจริง เผย เป็นภาพที่อยู่ในโทรศัพท์ที่ทำหาย แต่ปฏิเสธที่จะพูดถึงผู้ชายในภาพ ก่อนจะเอ่ยขอโทษแฟนๆ ที่มีภาพทำนองนี้หลุดออกมา

 “ปีนี้ไม่รู้อะไรนักหนา มีเรื่องราวมากมาย เรื่องภาพที่หลุดออกมายอมรับเป็นรูปตัวเองจริง เป็นรูปที่อยู่ในโทรศัพท์ที่หายไป น่าจะหลายเดือน เป็นรูปส่วนตัว รู้สึกตกใจเหมือนกัน บางภาพไม่รู้ถ่ายไว้เมื่อไรบางรูปภาพบางภาพก็ถ่ายเล่นกับเพื่อนมันเป็นเรื่องส่วนตัวไม่สมควรเปิดเผย ก็คิดว่าที่ผ่านมาก็ถือว่าทำดีแล้ว”

“ส่วนคนในภาพจะให้ยืนยันความสัมพันธ์ ก็ไม่อยากพูดถึง กลัวเสียรูปคดีและไม่อยากเอ่ยชื่อ แต่ช่าก็คิดว่าเป็นคนใกล้ตัวที่ปล่อยรูปคิดว่าเป็นการกลั่นแกล้งมากกว่า ถ้ารู้ตัวใครปล่อยคงดำเนินคดีเต็มที่ ก็คิดว่าคนปล่อยภาพมีวัตถุประสงค์ไม่ดี ถามว่าคนในรูปปล่อยหรือเปล่า ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของตำรวจ แต่ยังไงก็ไม่สมควร ตอนนี้ช่าแจ้งความเรียบร้อยแล้ว ที่กองบังคับการปราบปราม อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและ เทคโนโลยี (บก.ปศท.) แถลงเสร็จก็ต้องไปให้ปากคำค่ะ”

“เรื่องรูปที่แพร่ออกไปมันเป็นความผิด และสามารถดำเนินคดีได้ ช่าขอร้องอย่าเผยแพร่รูปออกไป มีคนกลั่นแกล้งก็ต้องต่อสู้กันไป กับคนที่เชื่อว่าปล่อยรูปตั้งแต่มีคดีความ ก็ไม่ได้ติดต่อกันไม่ได้พูดคุย คงปล่อยให้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนเรื่องคนนั้นที่มีคดีติดตัวที่ต่างประเทศ ก็คิดว่าคนดีๆ ก็คงไม่ทำเรื่องแบบนั้น อยากให้เป็นคดีตัวอย่าง บางครั้งเราคิดกับเขาในแง่ดีเกินไป”

สรุปข่าว : นักร้องชื่อดัง “มาช่า วัฒนพานิช” แถลงข่าวขอโทษหลังจากมีภาพหลุดอื้อฉาวกับผู้ชาย เผยว่าภาพดังกล่าวหลุดมาจากโทรศัพท์ที่ทำหายแต่ได้แจ้งความเอาผิดคนปล่อยดังกล่าวแล้ว

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐

หากเกิดเหตุการณ์ในกรณีศึกษาดังกล่าวจะมีความผิดตามกฎหมายดังนี้

มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)

มาตรา ๑๕  ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

อ้างอิงข้อมูล  :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/480911

 

จับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า  30  ล้านบาท 

ดีเอสไอร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทลายเครือข่ายลักลอบขายเครื่องสำอาง น้ำหอม เลียนแบบยี่ห้อดังผ่านทางอินเทอร์เน็ต มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท

          เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้จับกุม นายส้มโอ กุลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ค้าและเจ้าของเว็บไซต์ www.bevershops.com ได้เปิดจำหน่ายเครื่องสำอาง   น้ำหอม เครื่องหนัง และนาฬิกาปลอมยี่ห้อดังต่าง ๆ จำนวนกว่า 20,000 ชิ้น พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง และสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์หลายรายการ ทั้งกระเป๋า  เสื้อผ้า เข็มขัด แว่นตา และนาฬิกา  มูลค่าความเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท   ซึ่งผู้ต้องหาเป็นผู้ค้ารายใหญ่ทางอินเทอร์เน็ตจำหน่ายสินค้าปลอมผ่านทางเว็บไซต์มาเป็นเวลานาน  โดยนำสินค้าเข้ามาทางภาคตะวันออกโดยวิธีการจำหน่ายนั้นจะให้ลูกค้าสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ตและโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร  ก่อนที่จะส่งไปทางไปรษณีย์  สำหรับยอดขายในแต่ละเดือนของเว็บไซต์ดังงกล่าวมีมูลค่าการซื้อขายเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อวัน

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 

                               มาตรา  ๑๔  ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

บทลงโทษ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผลกระทบ

                –  ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผิด เพราะเป็นสินค้าปลอม ข้อมูลอาจมีสรรพคุณเกินจริง ทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้ง่าย

                –  สร้างความเสียหายให้กับประชาชน  เนื่องจากประชาชนซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ปลอมมาใช้อาจทำให้เกิดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบจากการใส่สารเคมีบางตัวมากเกินไป

                –  ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกกับข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชน  และอาจจะไม่กล้าซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ มาใช้  เนื่องจากกลัวว่าอาจจะเป็นของปลอม ทั้งที่จริงสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นของจริง

                –  สร้างความเสื่อมเสียให้กับประเทศชาติ  เนื่องจากคนภายนอกประเทศจะมองว่าประเทศนี้ไม่มีความซื่อสัตย์และไม่น่าไว้วางใจ  ทำให้ไม่อยากมาเที่ยวเมืองไทยเพราะกลัวโดนหลอกลวงส่งผลกระทบไปยังภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไทย

แนวทางแก้ไข

                เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทุกหน่วยงานควรจับกุมอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด  สร้างองค์กรป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อเร่งรัดและปราบปรามการกระทำความผิด  จับกุมและสืบหาต้นตอการผลิตสินค้าหรือการนำเข้าแบบผิดกฎหมาย  เพื่อจะได้ไม่มีผู้ใดสามารถขายสินค้าปลอมหรือผลิตสินค้าปลอมผ่านเน็ตได้  รวมทั้งตรวจสอบการเปิดการค้าทางเว็บไซต์อย่างเคร่งครัด

อ้างอิงข้อมูล   :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/481369

 จับแก๊งแฮกข้อมูลธนาคารกรุงไทย

 

ชาวรัสเซีย 2 คน และคนไทย 1 คน ร่วมมือกันแฮกข้อมูลของธนาคารกรุงไทยเพื่อเข้าไปตรวจสอบข้อมูลบุคคลที่มี เงินฝากเยอะที่สุด และเมื่อพบ ก็ปลอมบัตรประชาชนให้เป็นชื่อเจ้าของบัญชี และไปเปิดบัญชีอีกที่หนึ่งไว้ เพื่อที่จะโอนเงินจากเจ้าของบัญชี เข้า บัญชีของโจร และวันที่ ไปถอนเงินจากธนาคาร 1 ในคนร้ายได้แสดงพิรุจเจ้าหน้าที่ของธนาคารเลยตรวจสอบข้อมูลอีกทีและพบว่า ใบหน้าในบัตรประชาชนนั้นไม่ตรงกัน จึงแจ้งความดำเนินคดีต่อไป

ที่มา… 

สำนักข่าวไทย

พรบ. เกี่ยวกับการกระทำผิด 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  

มาตราและบทลงโทษ 

1.มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน

-บทลงโทษ         ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

-บทลงโทษ         ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

3.มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน

-บทลงโทษ          ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งจำทั้งปรับ

4.มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้

-บทลงโทษ          ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

5.มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ

-บทลงโทษ          ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

6.มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทํางานตามปกติได้

-บทลงโทษ          ต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

7.มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข

-บทลงโทษ          ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

8.มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐

(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่

-บทลงโทษ          ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท

(๒) เป็นการกระทําโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

– บทลงโทษ         ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

(๓)ถ้าการกระทําความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

-บทลงโทษ               ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

9.มาตรา ๑๓ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑

-บทลงโทษ               ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

10.มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้

-บทลงโทษ               ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)

11.มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน

-บทลงโทษ         ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตาม มาตรา ๑๔

12.มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

-บทลงโทษ         ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

13.มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักร

(๑) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ

(๒) ผู้กระทําความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ

-บทลงโทษ        จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร

ข่าวที่หามานั้นตรงกับพรบ. อย่างไร 

1. ในเรื่องของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

2. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ

3. ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ประชาชน

4. เจตนาช่อโกง

5. ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์

6. ทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไปจากเดิม

7. ปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว

8. ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ

ผลกระทบต่อสังคม

ผู้ใช้งานเว็บไซต์เดิมไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์เดิมได้อีเมล์ข้อมูลทั้งหมดเป็นเว็บไซต์ของแฮกเกอร์แทน เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลแบบสาธารณะเปิดเผยต่อบุคคลทั่วไปอยู่แล้วนั้นอาจ จะไม่ต้องใช้รหัสผ่าน รหัสสมาชิก หรือ ตรวจสอบความเป็นเจ้าของ Username นั้น เว็บไซต์เหล่านั้นจึงป้องกันได้ยากที่จะไม่ถูกลักลอบใช้ URL ของเว็บไซต์นั้นๆได้

อ้างอิงข้อมูล  :  http://www.learners.in.th/blogs/posts/474399

ใส่ความเห็น